ป้ายกำกับ: สุขภาพ

ไขข้อข้องใจ กินเห็ดมีประโยชน์จริงหรือ?

หลากความเห็นเกี่ยวกับเห็ดในโลกโซเชียลเกิดคำถามว่า แล้วแบบนี้เห็ดมีคุณค่าทางโภชนาการมากน้อยแค่ไหน

ยิ่งปัจจุบันการเพาะเห็ดพบมากขึ้น โดยเฉพาะคนทำงานออฟฟิศต่างก็หันมาเพาะเห็ดกันมากขึ้นนั่นเพราะมีการทำก้อนเชื้อเห็ดแบบสำเร็จรูปให้เพาะกันง่ายๆไม่ว่าจะเป็นเห็ดฟางเห็ดนางฟ้าซึ่งการเพาะเห็ดนอกจากจะเป็นงานอดิเรกที่สร้างรายได้เสริมให้แล้วยังมีประโยชน์มีคุณค่าทางอาหารมากมายขณะที่หลายคนอาจกังวลว่ากินเห็ดมากๆจะเกิดปัญหาท้องอืดท้องเฟ้อบ้างก็คิดว่ากินยิ่งมากจะยิ่งส่งผลเสียหรือไม่

ข่าวสุขภาพ

ไขข้อข้องใจโดยผศ.ปรัญรัชต์ธนวิยุทธ์ภัคดีอาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวว่าปัจจุบันการเพาะเห็ดมีความสะดวกมากขึ้นมีการทำเป็นหัวเชื้อเป็นก้อนเห็ดเพาะได้ทันทีซึ่งก็จะมีวิธีบอกอยู่ว่าต้องทำอย่างไรอยู่ในอุณหภูมิอย่างไรประเด็นคือหลายคนสงสัยว่า คุณค่าทางโภชนาการมีมากน้อยแค่ไหน

จริงๆ แล้ว เห็ดหลายชนิดที่รับประทานได้มีคุณค่าทางโภชนาการไม่แตกต่างจากผักทั่วไปเห็ดบางชนิดที่มีปริมาณโปรตีนมากกว่าผักซึ่งที่ผ่านมาได้มีการเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการต่างๆโดยเทียบที่หนึ่งหน่วยบริโภค100กรัมพบว่าเห็ดฟางให้พลังงาน32กิโลแคลอรีเห็ดโคน45กิโลแคลอรีเห็ดนางฟ้า33 กิโลแคลอรี ขณะที่เมื่อเทียบกับผักกาดขาวพบว่ามีพลังงาน 18 กิโลแคลอรี ผักตำลึง 28 กิโลแคลอรี ถั่วงอก 30 กิโลแคลอรี และถั่วฝักยาวมีพลังงาน 38 กิโลแคลอรี

“ส่วนโปรตีนเมื่อเทียบที่หน่วยบริโภค100 กรัม พบว่า เห็ดฟาง 3.2 กรัม เห็ดโคน 6.3 กรัม เห็ดนางฟ้า 3.4-3.5 กรัมและเห็ดหอมมีโปรตีน 2.2 กรัม ขณะที่ผักกาดขาวมีโปรตีน 1.7 กรัม ผักตำลึง 4.1 กรัม ถั่วงอก 4.2 กรัม และถั่วฝักยาว 3 กรัม ส่วนปริมาณไขมันในเห็ดและผักมีอยู่น้อยมาก

การปรุงอาหารจากเห็ดควรปรุงร่วมกับเนื้อสัตว์เช่นเนื้อหมู เนื้อไก่ กุ้ง เป็นต้น จะทำให้ได้รับกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างครบถ้วน ส่วนที่บางคนบอกว่ามีปัญหารับประทานเห็ดแล้วมีอาการท้องอืดแน่นท้องมากนั้นข้อเท็จจริงก็เหมือนผักทั่วไป ที่เมื่อรับประทานมากๆ ก็ทำให้ท้องอืดได้”

อย่างไรก็ตาม การบริโภคเห็ดสิ่งสำคัญก่อนปรุงอาหารต้องล้างทำความสะอาดให้ดี และนำเห็ดมาปรุงอาหารให้สุกควรซื้อเห็ดมาบริโภคมื้อต่อมื้อ ซึ่งเราจะเห็นว่าถ้าเก็บเห็ดสดไว้แม้จะในตู้เย็นก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น นั่นเพราะมีรอยช้ำ รสก็เปลี่ยนไป โครงสร้างทางเคมีมีการเปลี่ยนแปลงที่หลายคนเรียกว่าเกิดตายนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีที่เกิดขึ้นคือการเกิดสารที่เรียกว่า Biogenicamine ที่มีผลต่อร่างกายได้ เช่นอาจทำให้รู้สึกไม่สบายท้องได้ ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษหรืออาจทำให้มีอาการไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว ปวดศีรษะได้ ถ้าเห็ดที่ซื้อมาเหลือมีวิธีการป้องกันการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่จะเกิดขึ้นโดยการต้มหรือนึ่งให้สุกแล้วจึงเก็บแช่ตู้เย็น

ส่วนที่เกิดคำถามในโลกโซเชียลว่าควรรับประทานเห็ดเกินกว่า3ชนิดในครั้งเดียวหรือไม่เนื่องจากมีการพูดในโซเชียลว่าทานแล้วรู้สึกคลื่นไส้อาเจียนผศ.ปรัญรัชต์ระบุว่าเรื่องนี้จำเป็นต้องตรวจสอบว่าเพราะอะไรกันแน่อาจไม่ได้เกิดจากเห็ดเพราะจริงๆ แล้วในแพทย์แผนจีนการรับประทานเห็ดหลากชนิดยังเป็นยา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากมีอาการไม่พึงประสงค์ก็ควรไปพบแพทย์จะดีกว่า ข่าวสุขภาพอัพเดต>>> 5 วิธี รักษาโรค “หิด” ให้หายขาด ไม่กลับมาเป็นซ้ำ

5 วิธี รักษาโรค “หิด” ให้หายขาด ไม่กลับมาเป็นซ้ำ

5 วิธี รักษาโรค “หิด” ให้หายขาด ไม่กลับมาเป็นซ้ำ

สุขภาพ

แพทย์ชี้หิดเป็นโรคติดเชื้อทางผิวหนังที่พบบ่อย ติดต่อจากสัมผัสใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของเครื่องใช้กับคนที่เป็นโรคหิด โดยเฉพาะในสังคมที่มีคนอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น แนะวิธีป้องกันการแพร่กระจาย และการกลับเป็นโรคซ้ำ

อาการของโรคหิด

นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ และโฆษกกรมการแพทย์ กล่าวว่า หิดเป็นโรคติดเชื้อทางผิวหนังที่พบบ่อย โดยเฉพาะในเด็กและในชุมชนแออัด ผู้ป่วยจะมีอาการคันในตอนกลางคืน ซึ่งอาการคันและผื่นเกิดจากปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อตัวหิด ไข่หิด หรือสิ่งขับถ่ายของหิด โดยผื่นมักเกิดหลังจากติดเชื้อหิดประมาณ 2 สัปดาห์

ลักษณะผื่นมักเป็นตุ่มน้ำใสหรือตุ่มแดงคัน ผื่นมักจะกระจายไปทั่วตัว บริเวณที่พบผื่นได้บ่อยคือ ง่ามมือ ง่ามเท้า ข้อพับแขน รักแร้ เต้านม รอบสะดือ ก้น และอวัยวะเพศ ในเด็กอาจพบผื่นบริเวณใบหน้าและศีรษะร่วมด้วย

นอกจากนี้ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ร่างกายจะไม่สามารถจำกัดปริมาณเชื้อหิดได้ ทำให้ผู้ป่วยมีเชื้อหิดจํานวนมากบนผิวหนัง เกิดลักษณะแตกต่างออกไป คือ เป็นสะเก็ดหนาทั่วตัว ไม่คัน และมีกลิ่นเหม็น

วิธีวินิจฉัยโรคหิด

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การวินิจฉัยโรคโดยการซักประวัติร่วมกับตรวจร่างกายพบผื่นที่มีลักษณะจำเพาะ เมื่อพบรอยโรคที่เห็นเป็นเส้นเล็กๆ คดเคี้ยวที่ง่ามนิ้ว สามารถตรวจดูเชื้อหิดด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อยืนยัน โดยขูดบริเวณผื่นคันจะพบตัวหิด ไข่ หรือ สิ่งขับถ่ายของหิด

การรักษาโรคหิด

การรักษาโรคหิด จะตอบสนองได้ดีต่อยาทา โดยต้องทายาให้ทั่วตั้งแต่คอจนจรดปลายนิ้วเท้า เน้นบริเวณซอกต่างๆ รวมทั้ง ซอกเล็บ ในเด็กเล็กให้ทาทั้งตัวตั้งแต่ศีรษะ ใบหน้า คอ ใบหู โดยเฉพาะหลังหู ร่องก้น ง่ามนิ้ว และใต้เล็บ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

5 วิธี รักษาโรค “หิด” ให้หายขาด ไม่กลับมาเป็นซ้ำ และป้องกันการแพร่กระจายของโรค

  1. ควรรักษาสมาชิกทุกคนในครอบครัวพร้อมๆ กัน ถึงแม้ไม่มีอาการ เพราะอาจอยู่ในระยะฟักตัว
  2. ทําความสะอาดเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน ผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม ผ้าคลุมเตียง เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ที่ใช้ใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา
  3. สําหรับเครื่องนุ่งห่มที่ซักไม่ได้ เช่น ที่นอน หมอน พรม และเฟอร์นิเจอร์ในบ้านควรดูดฝุ่น หรือเก็บไว้ในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้แน่น เก็บไว้ในที่อุ่นที่มีแสงแดดส่องถึงเป็นเวลาอย่างน้อย 3 วัน
  4. แยกของใช้ส่วนตัว เช่น หวี ผ้าเช็ดตัว เครื่องนุ่งห่ม ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
  5. ตัดเล็บให้สั้น ไม่แคะแกะเกาผื่น

อัพเดทข่าวสุขภาพ มาใหม่ แนะนำข่าวเพิ่มเติม :  ฝีดาษลิงไม่กระจอก เปลี่ยนแปลงเร็วกว่าไวรัสปกติ 10 เท่า แพร่จากคนสู่คนง่ายขึ้น

ฝีดาษลิงไม่กระจอก เปลี่ยนแปลงเร็วกว่าไวรัสปกติ 10 เท่า แพร่จากคนสู่คนง่ายขึ้น

ดร.อนันต์ ชี้ ไวรัสฝีดาษลิง 2022 เปลี่ยนแปลงเร็วกว่าไวรัสปกติ 10 เท่า คาดเป็นกลไกหนีการจับของเอนไซม์เพื่อความอยู่รอดในโฮสต์ใหม่ ทำให้แพร่กระจายจากคนสู่คนง่ายขึ้น

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2565 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการไบโอเทค โพสต์เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana อัปเดตสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง

มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วกว่าไวรัสปกติถึง 10 เท่า

ไวรัสฝีดาษลิง มีสารพันธุกรรมเป็น DNA ซึ่งแตกต่างจากไวรัสโรคโควิด 19 ซึ่งเป็น RNA การเปลี่ยนแปลงของ DNA เปลี่ยนยากกว่า RNA มาก ทำให้ไวรัสในกลุ่มนี้มักมีลำดับพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงช้า ปกติจะพบการเปลี่ยนแปลงประมาณ 1 ตำแหน่งต่อปีเท่านั้น

แต่ผลการวิเคราะห์ลำดับพันธุกรรมของไวรัสฝีดาษลิงที่ระบาดในหลายประเทศตอนนี้พบว่า มีความแตกต่างจากไวรัสที่เคยแยกได้ตอนที่กระโดดจากสัตว์มาหาคนเมื่อ 4 ปีก่อน ในอังกฤษ สิงคโปร์ และอิสราเอล ถึง 40 ตำแหน่ง

จากเดิมที่เชื่อว่า ถ้าการเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามธรรมชาติ เราคาดว่าน่าจะมีความแตกต่างกันเพียง 4-5 ตำแหน่งเท่านั้นในระยะเวลาที่ต่างกันดังกล่าว แสดงว่าไวรัสที่ระบาดในหลายพื้นที่ตอนนี้ มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วกว่าไวรัสปกติถึง 10 เท่า

จากเดิม 1 ตำแหน่งต่อปี พุ่งถึง 40 ตำแหน่ง

ตอนนี้ยังไม่มีใครมีคำตอบที่แน่ชัดว่าเกิดอะไรขึ้นกับไวรัสฝีดาษลิง 2022 (ขอเรียกว่า MPXV-2022) แต่มีสมมติฐานที่น่าสนใจ ซึ่งส่วนตัวเห็นด้วย และคิดว่ามีประเด็นน่าคิด ผลการถอดรหัสไวรัส MPXV-2022 การเปลี่ยนแปลง 40 ตำแหน่งพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปแบบเดียวกันคือ จากเดิม GA เปลี่ยนเป็น AA และจากเดิม TC เปลี่ยนเป็น TT เป็นแบบจำเพาะเจาะจงมากไม่ใช่การเปลี่ยนแบบสุ่ม หรือเปลี่ยนไปเรื่อย
การเปลี่ยนลักษณะแบบนี้มีสาเหตุหลักมาจาก การเปลี่ยนตัวเองของไวรัสหนีกลไกของโฮสต์ ซึ่งปกติโฮสต์จะมีเอนไซม์อยู่ชนิดหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ไปจับลำดับเบสของไวรัสแล้วคอยเปลี่ยนเบสดังกล่าว ทำให้เกิดมิวเตชั่นในสารพันธุกรรมของไวรัส เปลี่ยนไปเยอะ ๆ จนในที่สุดไวรัสไปต่อไม่ได้ จึงสูญเสียความสามารถในการเพิ่มจำนวนของตัวเองในที่สุด

ดร.อนันต์ ระบุว่า เอนไซม์ดังกล่าว (ชื่อว่า APOBEC) ในแต่ละสปีชีส์ของโฮสต์จะจับลำดับเบสที่ต่างกันไป ของหนูจับอย่างหนึ่ง ของคนก็จับอย่างหนึ่งไม่เหมือนกัน ตัวไวรัสเองก็จะต้องมีวิธีในการอยู่ร่วมกับโฮสต์ได้

วิธีหนึ่งคือ เปลี่ยนตำแหน่งที่ APOBEC ของโฮสต์จะจับไปเป็นตัวอื่นเพื่อหนีการตรวจจับของเอนไซม์ดังกล่าว ซึ่งเป็นกลไกการเปลี่ยนแปลงตัวเองทำให้เกิดวิวัฒนาการของไวรัสนั้น ๆ ให้ดำรงอยู่กับโฮสต์ได้ ปกติการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวใช้เวลานานพอสมควร

ประเด็นที่น่าสนใจคือ GA และ TC ที่ MPXV-2022 มีการเปลี่ยนแปลงถึง 40 ตำแหน่งนี้ เป็นตำแหน่งที่ APOBEC ของคนใช้ในการตรวจจับ เพื่อทำการจัดการไวรัสตัวนั้น การที่ MPXV-2022 เปลี่ยนตำแหน่งดังกล่าวแบบจำเพาะเจาะจงแบบนี้ อาจเป็นกลไกที่ไวรัสพยายามหนีการจับของเอนไซม์ของคนเพื่อความอยู่รอดในโฮสต์ใหม่

ทำให้นักวิจัยหลายท่านตั้งสมมติฐานว่า อาจเป็นไปได้ว่า MPXV-2022 วนเวียนอยู่ในประชากรมนุษย์มาเป็นเวลานานพอสมควรทีเดียว ไวรัสอาจมีปรับเปลี่ยนโฮสต์จากสัตว์ตัวกลางเป็นคน ซึ่งทำให้การแพร่กระจายเกิดจากคนสู่คนได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่า เป็นสมมติฐานที่มีการวิเคราะห์มาจากข้อมูลลำดับพันธุกรรมของไวรัส ยังไม่มีข้อมูลการแยกไวรัสออกมาเปรียบเทียบคุณสมบัติการเพิ่มจำนวนในเซลล์คนเปรียบเทียบกับสายพันธุ์เก่า ว่าต่างกันมากน้อยอย่างไร ซึ่งเชื่อว่าคงมีให้วิเคราะห์กันต่อในไม่ช้า

สุขภาพ.jpg6